วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

นนทรี

Yellow Poiarclana
นนทรี

รหัสพรรณไม้: : 7-11000-015-018ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum(DC.)Back.exHeyneชื่อวงศ์ : : LEGUMINOSE-CAESALPINIACEAE
ชื่ออื่นๆ : กระถินป่า กระถินแดง สารเงิน
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร เปลือกค่อนข้างเรียบสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่ม ใบ เป็นช่อแบบขนนก 2 ชั้น ติดเรียงเวียนสลับแน่น ตามปลายกิ่ง ใบย่อยโคนใบสอบและเบี้ยว ปลายใบทู่หรือหยักเข้าเล็กน้อย หลังใบสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบสีจาง ขอบใบเรียบ ดอก สีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อ ตั้งชี้ขึ้น ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 20-30 ซม. กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยทับกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ ผิวกลีบย่น เกสรผู้มี 10 อัน รังไข่ รูปรีมีขนปกคลุม ผล เป็นฝักแบน เกลี้ยง ขนาด 2.5-10 ซม. ทั้งโคนและปลายฝักเรียวแหลม ฝักอ่อน สีเขียวพอแก่จัดออกสีน้ำตาลแดง ภายในมีเมล็ดแบน เรียงตัวตามยาวของฝักจำนวน 1-4 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ : พบขึ้นตามป่าชายหาด แลป่าเบญจพรรณชื้น ๆ ทั่วไป ที่สูงจากน้ำทะเล 10-300 เมตร
ประโยชน์ : เนื้อไม้ สีชมพูอ่อน เป็นมันเลื่อม เลื่อยผ่าไสกบตกแต่งง่าย ใช้ทำกระดานปูพื้น เพดาน ฝา เครื่องตกแต่งบ้าน หีบใส่ของ ไถ พานท้ายปืนและรางปืน สรรพคุณทางด้านสมุนไพร เปลือก มีรสฝาด รับประทานเป็นยาขับโลหิต และใช้เป็นยาขับลม

ที่มา
https://wpnbotanist.wordpress.com/?s=นนทรี&submit=ค้นหา

ตะแบก




Queen Flower
ตะแบก

รหัสพรรณไม้: 7-11000-015-013
ชื่อพื้นเมือง: ตะแบก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia floribunda Jack
ชื่อวงศ์: LYTHRACEAE
ชื่อสามัญ: Bungor.
ชื่ออื่น ๆ: กระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา ตะแบก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), บางอตะมะกอ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี), บางอยะมู (มลายู-นราธิวาส), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่)
ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โคนต้นเป็นพูพอนสูง เปลือกต้นเรียบเป็นมันสีเทาหรือสีเทาอ่อนอมขาว มีแผลเป็นหลุมตื้น ๆ ตลอดลำต้น
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ชอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา ใบเเก่เกลี้ยง ใบอ่อนสีชมพูหรือแดง มีขนสั้น
ดอก (Flower) : สีชมพูอ่อนหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อเเยกแขนงตามซอกใบปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 30-40 เซนติเมตร ก้านช่อดอก และดอกตูมมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม กลีบเลี้ยงมี 10-12 สัน ปลายแยก 5-6 กลีบ มีขนสีน้ำตาลด้านนอกและปลายกลีบด้านใน กลีบดอก 6 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร
ผล (Fruit) : ผลแห้งแตก รูปไข่สีน้ำตาล เเตกเป็น 5-6 พู เมล็ดแบน สีน้ำตาล มีปีก
ประโยชน์: รากเป็นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ มีไข่เปลือกชงดื่มแก้ท้องร่วง แก้พิษ 
ที่มาhttps://wpnbotanist.wordpress.com/ตะแบก/